การวางแผนและออกแบบ Cleanroom สำหรับโรงพยาบาล: ขั้นตอนและปัจจัยสำคัญ
Cleanroom หรือ ห้องสะอาด หมายถึงพื้นที่ที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างเข้มงวด เพื่อลดปริมาณอนุภาคฝุ่นละออง มลพิษทางอากาศ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ให้ต่ำที่สุด Cleanroom นั้นมีความสำคัญอย่างมากในโรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ห้องผ่าตัด ห้องปฏิบัติการ และหอผู้ป่วยวิกฤต
Cleanroom ในโรงพยาบาล ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วย แพทย์และพยาบาล และตัวระบบห้องยังช่วยให้สามารถทำให้บุคคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความนี้ เราจะมาดูขั้นตอนและปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาในการวางแผนและออกแบบ Cleanroom สำหรับโรงพยาบาล
ขั้นตอน
1.การวางแผนความต้องการ
- ประเภทของการใช้งาน: Cleanroom ในโรงพยาบาลมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีข้อกำหนดด้านความสะอาดที่แตกต่างกันไป คุณต้องกำหนดประเภทของการใช้งานก่อน เช่น ห้องผ่าตัด ห้องปฏิบัติการ หรือหอผู้ป่วยวิกฤต
- ขนาด: Cleanroom แต่ละแห่งมีขนาดที่แตกต่างกันไป คุณต้องกำหนดขนาดของ Cleanroom ที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้งาน เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ
- ระดับความสะอาด: Cleanroom แต่ละแห่งมีระดับความสะอาดที่แตกต่างกันไป คุณต้องกำหนดระดับความสะอาดที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งาน
2. การเลือกที่ตั้งที่เหมาะสม
- การเข้าถึง: Cleanroom ควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่สะดวกต่อการเข้าถึงสำหรับแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย และคำนึงถึงการ Flow ของสะอาดและของเสียมีการแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
- การไหลเวียน: Cleanroom ควรออกแบบมาเพื่อให้มีการไหลเวียนของอากาศที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนภายในอากาศ
- ความปลอดภัย: Cleanroom ควรมีระบบความปลอดภัยที่เพียงพอทั้งระบบไฟฟ้า ระบบไหลเวียนอากาศสะอาด ระบบแก๊สทางการแพทย์ และ วัสดุที่นำมาใช้ในห้องต้องไม่ทำการเก็บฝุ่น
3. การออกแบบพื้นที
- โครงสร้าง: โครงสร้างของ Cleanroom ควรออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน และป้องกันการปนเปื้อน
- การจัดวาง: การจัดวางเครื่องมือ อุปกรณ์ และเฟอร์นิเจอร์ ควรออกแบบมาเพื่อให้มีการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมการไหลของอากาศ
- พื้นผิว: พื้นผิวของ Cleanroom ควรเรียบ ทำความสะอาดง่าย และป้องกันการสะสมของแบคทีเรียและไวรัส
4.การเลือกวัสดุและอุปกรณ์
- วัสดุ: วัสดุที่ใช้ก่อสร้าง Cleanroom ควรทนทานต่อการทำความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อน
- อุปกรณ์: อุปกรณ์ที่ใช้ใน Cleanroom ควรออกแบบมาเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และง่ายต่อการทำความสะอาด
5. การจัดการระบบอากาศ
- การกรอง: Cleanroom ควรมีระบบกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อกรองอนุภาคฝุ่นละออง แบคทีเรีย และไวรัส
- การควบคุมแรงดัน: Cleanroom ควรมีระบบควบคุมแรงดันอากาศ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเข้า หรือ ออกจากห้องปฏิบัติการ
6.การควบคุมความสะอาด
- การทำความสะอาด: Cleanroom ควรมีระบบทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพ และทำความสะอาดเป็นประจำ
- การควบคุมการเข้าถึง: Cleanroom ควรมีระบบควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเข้าสู่ภายในห้องหรือมีเครื่อง air shower เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลากรทางการแพทย์จะไม่นำสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่ห้องปฏิบัติการ
7.การจัดการสภาพแวดล้อม- อุณหภูมิ และ ความชื้น::เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสในพื้นที่ Cleanroom การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยมักจะต้องควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ เช่น อุณหภูมิอาจต้องควบคุมในช่วง 20-26 องศาเซลเซียสและความชื้นในช่วง 40-60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมของกระบวนการผลิตและความต้องการของผู้ใช้งาน
- ความดัน:: ในการใช้งานในพื้นที่ Cleanroom ความดันจะต้องถูกควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากความดันที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน การควบคุมแรงดันเป็นบวกหรือเป็นลบจะต้องปรับให้เหมาะสมตามสถานะและการใช้งาน โดยทั่วไปแล้ว การควบคุมแรงดันให้เป็นลบจะช่วยลดการรั่วของสิ่งปนเปื่อนเและสารต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นอันตรายต่อบุคคลภายนอก และ บุคคลากรทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม การควบคุมแรงดันเป็นบวกช่วยลดการสะสมของฝุ่นสารปนเปื่น และเชื้อโรคเข้าในพื้นที่ Cleanroom ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความบริสุทธิ์ของสภาพแวดล้อม